เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 8. เขมาเถริยาปทาน
ทรงถึงที่สุดแห่งมรณธรรม
ทรงมีธรรมที่เป็นประโยชน์อย่างดี
หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น
[366] หม่อมฉันมัวแต่ยินดีในรูป
ระแวงว่าพระองค์จะไม่เป็นประโยชน์จึงมิได้เข้าเฝ้า
พระองค์ผู้ทรงมีความเกื้อกูลมาก
ทรงประทานพระธรรมที่ประเสริฐ
หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น”
[367] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีพระสุรเสียงไพเราะและก้องกังวาน
เมื่อจะทรงใช้น้ำอมฤตรดหม่อมฉันจึงตรัสว่า “ลุกขึ้นเถิดเขมา”
[368] ครั้งนั้น หม่อมฉันประณตน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า
ทำประทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้าพระราชา
ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[369] “ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ำยีข้าศึก
อุบายที่พระองค์ทรงดำริแล้วโดยชอบนี้ น่าอัศจรรย์
หม่อมฉันผู้ปรารถนาจะเที่ยวชมพระเวฬุวันมหาวิหาร
ได้เฝ้าพระมุนีผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังป่าแล้ว
[370] ข้าแต่พระราชา ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัย
หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระมุนีทรงตรัสสอนแล้ว
จักบวชในศาสนาของพระมุนีผู้คงที่พระองค์นั้น”
ภาณวารที่ 2 จบ

[371] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นั้น
ทรงประคองอัญชลีตรัสว่า “พระน้องนาง
พี่อนุญาตแก่เธอ ขอการบรรพชาจงสำเร็จแก่เธอเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 8. เขมาเถริยาปทาน
[372] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชมาแล้วผ่านไป 7 เดือน
เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป จึงมีใจสังเวช
[373] มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ฉลาดในปัจจยาการ
ข้ามพ้นโอฆะ1 4 แล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[374] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[375] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[376] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณที่บริสุทธิ์ของหม่อมฉัน
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
[377] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย2
คล่องแคล่วในกถาวัตถุ
รู้แจ้งนัยแห่งพระอภิธรรม เชี่ยวชาญในศาสนา
[378] จากนั้น พระราชสวามีผู้ฉลาด
ตรัสถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งในโตรณวัตถุ
หม่อมฉันได้วิสัชนาโดยควรแก่กถา
[379] ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว
ทูลถามปัญหาเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น
เหมือนอย่างที่หม่อมฉันพยากรณ์

เชิงอรรถ :
1 โอฆะ หมายถึงสังกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี 4 คือ (1) กาโมฆะ (2) ภโวฆะ (3) ทิฏโฐฆะ (4) อวิชโชฆะ
2 วิสุทธิทั้งหลาย หมายถึงสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ และทิฏฐิวิสุทธิ (ที.ปา. (แปล) 11/304/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :437 }